มหาชาติคำหลวง

  • พิมพ์

 1330086606

มหาชาติคำหลวง
ผู้เรียบเรียง
ดร.พระครูวินัยธร มานพ

 
           
ผู้แต่ง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดฯ ให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันแต่งเมื่อจุลศักราช ๘๔๔ พุทธศักราช ๒๐๒๕สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิปดีที่ ๒ หรือสามพระยา ก่อนเสวยราชย์ พระราชบิดาภิเษกให้เป็นพระมหาอุปราช และโปรดให้เสด็จไปครองเมืองพิษณุโลก มีอำนาจสิทธิ์ขาด
ในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ได้รับราชสมบัติสืบต่อพระราชบิดา ระหว่าง พ.ศ.๑๙๙๑ - ๒๐๓๑
         
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างความเจริญรุ่งเรืองแก่กรุงศรีอยุธยาเป็นอันมาก ทรงแก้ไขการปกครอง โดยแยกทหารและพลเรือนออกจากกันฝ่ายทหารมีหัวหน้าเป็นสมุหกลาโหม ฝ่ายพลเรือนมีสมุหนายกทรงตั้งยศข้าราชการลดลั่นกันตามชั้นเช่น ขุน หลวง พระยา พระทรงทำสงครามกับเชียงใหม่ ได้เมืองเชียงใหม่ พ.ศ.๒๐๑๗เป็นเหตุให้เกิดลิลิตยวนพ่าย พระองค์มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาเสด็จออกผนวชพร้อมด้วยบริวาร ๒๓๘๘ คน
ทรงผนวชในพระพุทธศาสนานานถึง๘ เดือนกับ ๑๕ วัน ที่วัดจุฬามณี จังหวัดพิษณุโลกการทำนุบำรุงพระศาสนาในรัชกาลนี้ทำให้เกิดมหาชาติคำหลวง
      
ประวัติ มหาชาติคำหลวงเป็นหนังสือมหาชาติฉบับภาษาไทยและเป็นประเภทคำหลวงเรื่องแรก เรื่องเกี่ยวกับผู้แต่งและปีที่แต่งมหาชาติคำหลวงปรากฏหลักฐานในเรื่องพงศาวดารฉบับคำหลวงกล่าวยืนยันปีที่แต่งไว้ตรงกับมหาชาติ
คำหลวงเดิมหายไป ๖ กัณฑ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระบรมราชโองการให้พระราชาคณะและนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งซ่อมให้ครอบ ๑๓กัณฑ์ เมื่อจุลศักราช ๑๑๗๖ พุทธศักราช ๒๓๔๗ ได้แก่ กัณฑ์ หิมพานต์ทานกัณฑ์ จุลพน มัทรี สักกบรรพ และฉกษัตริย์   ทำนองแต่งแต่งด้วยคำประพันธ์หลายอย่าง คือ โคลง ร่าง กาพย์ และฉันท์ มีภาษาบาลีแทรกตลอดเรื่อง มหาชาติคำหลวงเรื่องนี้เป็นหนังสือประเภทคำหลวง
หนังสือคำหลวงมีลักษณะดังนี้
๑.เป็นพระราชนิพนธ์ของพระเจ้าแผ่นดิน หรือเจ้านายชั้นสูง
๒.เป็นเรื่องเกี่ยวกับพระศาสนาและศีลธรรม
๓.ใช้คำประพันธ์หลายประเภท คือโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนและร่าย
๔.ใช้สวดเข้าทำนองหลวง ซึ่งสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดประดิษฐ์ขึ้นได้
ความมุ่งหมาย เพื่อใช้อ่านหรือสวดในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา และอาจเรียกรอยตามพระพุทธธรรม
ราชาลิไท ซึ่งพระราชนิพนธ์เรื่องไตรภูมิพระเรื่อง
เรื่องย่อ แบ่งออกเป็น ๑๓ ตอน ซึ่งเรียกว่ากัณฑ์ดังนี้
กัณฑ์ทศพร เริ่มตั้งแต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วเสด็จไปเทศนาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร ต่อจากนั้นเสด็จไปโปรดพุทธบิดาและพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ เกิดฝนโบกขพรรษพระสงฆ์สาวกกราบทูลอาราธนาให้ทรงแสดงเรื่องพระเวสสันชาดก
เริ่มตั้งแต่เมื่อกัปที่ ๙๘ นับเป็นแต่ปัจจุบันพระนางผุสดีซึ่งจะทรงเป็นพระมารดาของพระเวสสันดรทรงอธิฐานขอเป็นมารดาของผู้มีใจบุญ จบลงตอนพระนางได้รับพระ ๑๐ประการจากพระอินทร์
กัณฑ์หิมพานต์พระเวสสันดรทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสัญญชัยกับพระนาวผุสดีแห่งแคว้นสีวีราษฎร์ประสูติตรอกพ่อค้าเมื่อพระเวสสันดรได้เวนราชสมบัติจากพระมารดาได้พระราชทานช้างปัจจัยนาคแก่กษัตริย์แห่งแคว้นกลิงรางราษฎร์ประชาชนไม่พอใจ พระเวสสันดรจึงถูกเนรเทศไปอยู่ป่าหิมพานต์
กัณฑ์ทานกัณฑ์ ก่อนเสด็จไปอยู่ป่า พระเวสสันดรได้พระราชทานสัตตดกทาน คือช้าง ม้า รถ ทาสชาย ทาสหญิง โคนม และนางสนม อย่าง ๗๐๐
กัณฑ์วนประเวสน์ พระเวสสันดรทรงพาพระนางมัทรีพระชายาพระชาลีและพระกันหาพระโอรสพระธิดาเสด็จจากเมืองผ่านแคว้นเจตราษฏร์จนเสด็จถึงเขาวงกตในป่าหิมพานต์
กัณฑ์ชูชก ชูชกพราหมณ์ขอทานได้นางอมิตดาเป็นภรรยานางใช้ให้ไปขอสองกุมาร ชูชกเดินทางไปสืบข่าวในแคว้นสีวีราษฏร์สามารถหลบหลีกการทำร้ายของชาวเมือง พบเจตบุตร ลวงเจตบุตรให้บอกทางไปยังเขาวงกต
กัณฑ์จุลพน ชูชกเดินทางผ่านป่าตามเส้นทางตามที่เจตบุตรแนะจนถึงทีอยู่ของอัจจุตฤษี
กัณฑ์มหาพน ชูชกลวงอัจจุจฤษี ให้บอกทางผ่านป่าใหญ่ไปยังที่ประทับของพระเวสสันดร
กัณฑ์กุมาร ชูชกทูลขอสองกุมาร ทุบตีสองกุมารเฉพาะพรพักตร์พระเวสสันดร แล้วพาออกเดินทาง
กัณฑ์มัทรีพระนางมัทรีเสด็จกลับมาจากหาผลไม้ที่ป่าออกติดตามสองกุมารตลอกคืน จนถึงทางวิสัญญีเฉพาะพระพักตร์พระเวสสันดรเมื่อทรงพื้นแล้ว พระเวสสันดรเล่าความจริงเกี่ยวกับสองกุมารพระนางทรงอนุโมทนาด้วย
กัณฑ์สักกบรรพพระอินทร์ทรงเกรงว่าจะผู้ที่มาพระนางมัทรีไปเสียทรงเปลงเป็นพราหมณ์ชรามาทูลของพระนางมัทรีแล้วฝากไว้ที่พระเวสสันดร
กัณฑ์มหาราช ชูชกเดินทางเข้าแคว้นสีวีราษฎร์พระเจ้าสญชัยทรงไถ่สองกุมาร ชูชกได้รับพระราชทานเลี้ยงและถึงแก่กรรมด้วยการบริโภคอาหารมากเกินควร
กัณฑ์ฉกษัตริย์ พระเจ้าสัญญชัย พระนางผุสดี พระชาลี และพระกันหาเสด็จไปทูลเชิญพระเวสสันดรและพระนางมัทรีกลับเมื่อกษัตริย์หกพระองค์ทรงพบกัน ก็ทรงวิสัญญีต่อฝนโบกขพรรษตกจึงทรงฟื้นขึ้น
กัณฑ์นครกัณฑ์ กษัตริย์ทั้งหกพระองค์เสด็จกลับพระนคร พระเวสสันดรได้ครองราชย์ดังเดิม บ้านเมืองสมบูรณ์พูนสุข
คุณค่าของมหาชาติคำหลวง
๑. ในด้านอักษรศาสตร์ นับเป็นหนังสือที่แต่งดีมากเพราะผู้แต่งล้วนแล้วแต่มีฝีมือในการประพันธ์ทั้งนั้นเนื่องจากเป็นหนังสือที่แต่งโดยนักประพันธ์หลายคนนักประพันธ์หลายคงจะมีฝีมือไว้เพียบสำนวนโวหารจึงไพเราะเพราะพริ้งมีความกระชับรัดกุม น่าฟังถึงแม้ว่าจะอ่านยากไปสักหน่อย
๒.ในด้านประเพณีวัฒนธรรม ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรม การฟังเทศน์ซึ่งเชื่อกันว่าฟังมหาชาติตั้งแต่จนจบจะมีอานิสงส์มากถึงได้ไปสวรรค์เลยทีเดียว
๓. ในด้านการปกครองมหาชาติคำหลวงช่วยแสดงให้เห็นถึงการปกครองในสมัยโบราณว่าเป็นการครองแบบระบบประชาธิปไตยเพราะประชาชนมีสิทธ์มีเสียงในการปกครองมีอำนาจในการตัดสินชะตาชีวิตของตนเอง
ส่วนว่ามีการเห็นแก่ตัวอยู่ด้วยหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งมหาชาติคำหลวงทำให้เรามีความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้และสิงสาราสัตว์ต่าง ๆ นานามากมายทำให้เกิดความรักธรรมชาติมากยิ่งขึ้นคำหลวง

 

คำหลวง มีอยู่ 4 เรื่อง คือ
มหาชาติคําหลวง
พระนลคําหลวง
นันโทปนันทสูตรคําหลวง และ
พระมาลัยคําหลวง.