๒.กัณฑ์หิมพานต์ ๑๓๔ พระคาถา

  • พิมพ์

หิมพานต์             

กาพย์ฉบัง ๑๖

กล่าวถึงกัณฑ์หิมพานต์โดยหวัง      ท่านทายกฟัง                        เรื่องราวตามบทคาถา

อิติสาวเร คเหตฺวา                                                สมเด็จนางพญา                   ผุสดีได้รับวโร

แต่องค์ท้าวอำมรินโท                                         แล้วจุติจากโส-                        ฬสลงมาสู่ครรภา

แห่งองค์วรอัครชายา                                          มัทราชมหา                          กำหนดถ้วนทศมาเส

จากมาตุโครทเร                                               เบญจกัลยาเณ                     ผิวเนื้อดังจุลแก่นจันทร์

ฟุ้งเฟื่องกลิ่นกายเอววัลย์                                   คือดวงจันทร์กลั่น                ทรงโฉมประโลมลาเภ

ชันษาสิบห้าวเส                                                   เศกครองนคเร                      ด้วยสญชัยราชราชี

เป็นเจ้าพิภพสีพี                                                   เชตุอุดรธาตรี                        เป็นเอกอัคเรศจอมปรางค์

แปดหมื่นสี่พันปวงนาง                                     แสนสาวสุรางค์                   ดุจดังอัปสรสาวสวรรค์

ฉันท์ ๑๑

                                อำมรินทร์อินโทนึก                            มโนตรึกถึงแจ่มจันทร์

                ดวงสมรอรเอววัลย์                                              ผุสดีนีราศมา

อยู่ยังเมืองมนุษย์                                                 สบสมสุดดังปรารถนา

วรังทั้งเก้าปรา-                                                     กฎแก่เจ้าตามมโน

ยังแต่พระพรขอ                                                   วรราชบุตโต

สำเร็จดังมโน                                                       พนิดาดังใจจง

ตรึกพลางทางส่องเนตร                                     สอดตาทิพยลอนงค์

พุทธากูรจะปลง                                                   สังขาร์จากวิมานแมน

อีกเทวบริพาร                                                       ได้หกหมื่นอนันต์แน่น

จุติจากไปสู่แดน                                                   มนุษย์พร้อมยามเดียวกัน

แจ้งกระมลนุสนธิ์สิ้น                                         องค์อมรินทผายผัน

สู่สมบรมธรรม์                                                    โพธิสัตว์อินทราทูล

ขอนิรมลสู่สำนัก                                                 ในมัทราชตระกูล

จากฟ้าอย่าได้สูญ                                 ไปสืบสร้างบารมีตา

เชิญเสด็จเข้าสู่ครรภ์                                           ผุสดีนาฏราชกัลยา

ซึ่งเป็นบริจา                                                         ผู้ปิ่นเกล้าศรีสญชัย

กับด้วยเทวบริษัท                                 หกหมื่นองค์นั้นลงไป

เอาปฏิสนธิใน                                                      ครรภ์เมียมุขเสนา

บรมโพธิสัตว์สดับ                                               รับวจเนเทวบัญชา

อำมรจรลงมา                                                       สู่สำนักดาวดึงส์

วหน่อพุทธพงศ์                                                   ปลงหทัยไผเผือถึง

เทวบุตร ธ รำพึง                                                  จุติจากฟากฟ้ามา

ขบฟันลั่นตาชิด                                                   ปลงชีวิตดับสังขาร์

บรมโพธิ์ ธ ลีลา                                                   เข้าสู่ครรภ์พระผุสดี

เทวัญเข้าครรภ์เมีย                                               หมู่มุขมาตย์แสนเสนี

ถ้วนทั้งหกหมื่นมี                                                ภรรยาถ้วนล้วนเทวา

ผุสดีศรีศุภลักษณ์                                 อรเอกอัครชายา

ครั้นพระโอรสา                                                   เข้าสู่ครรภ์บรรเทืองพราย

ดำริแต่จะให้ทาน                                                 รักษาศีลสำรวมกาย

เนืองนิจมิรู้วาย                                                     นางกราบทูลภรรดา

สญชัยไตรภูวนาถ                                               พระบาทสั่งแสนเสนา

ให้ปลูกซึ่งศาลา                                                    ฉทานสี่ทวารเมือง

หนึ่งที่ประตูวัง                                                     หน้าพระลานงามบรรเทือง

หกแห่งแต่งสรรพเครื่อง                                    จ่ายทรัพนันต์วันหกแสน

ให้แก่องค์อัคเรศ                                                  ชาววิเสทตบแต่งแทน

ทลิทกทั่วด้าวแดน                                                แสนยาจกกรูกันมา

รับทานท้าวประสิทธิ์                                          ได้สัมฤทธิ์ดังปรารถนา

โฉมนามราชกัลยา                                              มโนรื่นชื่นชมทาน

ครรภาถ้วนสิบเดือน                                           กุศลเตือนให้บันดาล

ใคร่เลียบรอบปราการ                                         กรุงสีพีชมรัถยา

กราบทูลแด่พระบาท                                           สญชัยราชผู้ภัสดา

สั่งให้แต่งมรคา                                                    ปักราชวัติฉัตรเทียวธง

เรียงรายต้นกล้วยอ้อย                                         มาลัยห้อยงามบรรจง

ให้เกณฑ์พวกจัตุรงค์                                           ตั้งพยุหะบาทตรา

ครั้งรุ่งอรุณแสง                                                   จำรัสแจ้งพระเวหา

ได้ฤกษ์เลิกโยธา                                                   สำอางองค์ทรงภูษี

ประดับกายฉายเฉิดเสร็จ                                    ทรงเสด็จรถมณี

แสนสาวชาวพัดวี                                                เดินแห่แหนแน่นเป็นกง

อัศวาราชผาดโผนชัก                                          สุวรรณราชรถทรง

นางทอดพระเนตรบง                                         เบือนพักตราชมพระนคร

ขับรถมาถึงกลาง                                                  ตรอกที่ทางพานิชจร

ป่วนปั่นซึ่งอุทร                                                    ลมกัมมัชวาตรำเพยครรภ์

กราบทูลแต่พระบาท                                           สญชัยราชท้าวจาบัลย์

ให้ปลูกซึ่งสุวรรณ                                               พลับพลาศรีตำหนักชัย

กลางตรอกแห่งพ่อค้า                                         ให้กัลยาเอาใจใส่

พุทธางกูรก็คลาไคล                                            ถึงยามปลอดคลอดจากครรภ์

กาพย์ฉบัง ๑๖

ให้บังเกิดเหตุมหัศจรรย์     เสร็จมุจลินทร์อัน                                ก็กลืนพระเนตรทัศนา

จึงกล่าวมฤธุวาจา                 ลูกน้อยปรารถนา                 ขอทองปองปุญเป็นทาน

ชนนีมีพระกระมลมาน                     ชมชื่นเบิกบาน                                    ก็ถือเอาถุงทองพลัน

วางลงเหนือกรจาบรร                         เจ้าเอาสุวรรณ                                       พันกระษาปณ์ให้เป็นทาน

อาจารีย์โจษว่ากุมาร                            จากครรภ์ทำทาน                                 เจราจาด้วยพระชนนี

เนื้อหน่อพระชินศรี                            เสวยพระชาติอื่นมี                              บ้างฤาซึ่งรู้จาบัล

อาจารีย์ฉลาดเฉลยให้พลัน                แก้ปัญหาอัน                                         บันแบ่งออกแจ้งปรากฏ

เมื่อเสวยชาติเป็นมโหสถ                  ถือยาทิพรส                                           จากครรภ์พร้องด้วยมารดา

ปางเป็นศรีทัฐา                                พร้องด้วยชนมา                                   สำเร็จพระโพธิญาณ

ปางกรุงสญชัยนฤบาล                        ให้โหราจารย์                                        ทายลักษณบริบูรณ์

พระโหรทั้งหลายกราบทูล                แต่ปิ่นไอศูรย์                                        ว่าโอรสยศไกร

ยิ่งขัตติยวงศ์ราชัย                                ชมพูนิยไสย                                         จะเปรียบบ่มีถึงสอง

บิตุรงค์วงศาสมพอง                           รับมิ่งขวัญปอง                                     ถวายพระนามกุมารา

มิได้ข้องคล้องวงศา                             ชื่อราชบุตรา                                         อวยให้ตามความนิรมิต

ด้วยเกิดกลางตรอกพานิช                  ท้าวจึงประสิทธิ์                                   พระนามชื่อเวสสันดร

แรกจากมาตุโครทร                             แม่ช้างเหาะจร                                     พาบุตรเข้าโรงมงคล

เผือกผู้ดูงามโสภณ                              ขาวผ่องผิวขน                                      คือดังไกรลาสบรรพตา

แล้วแม่ช้างคืนฐานา                           ไว้แต่บุตรา                                            เป็นพาหนะราชี

กรุงสญชัยท้าวธิบดี                             ให้นามหัตถี                                          ชื่อปัจจัยนาถนาเคนทร์

เพื่อให้ประโยชน์เป็นเกณฑ์             แก่หน่อนเรนทร์                                  ธิราชด้วยเป็นปัจจัย

สมเด็จกรุงศรีสญชัย                           ให้จัดนางใน                                         แม่นมแปดหมื่นสี่พัน

สั่งให้เอาไปแจกปัน                            แก่ทารกอัน                                           สหัสชาติโยธา

ประทานให้โอรสา                            แล้วมีบัญชา                                          ให้ทำปิลันธน์ทองทรง

เป็นเครื่องประดับวรองค์                   เสร็จแล้วจึงส่ง                                     ไปถวายพระโอรสา

เวสสันดรกุมารา                                  รับปิลันธา                                             แต่ท้าวมาประทานนางนม

บรรดาพี่เลี้ยงในกรม                          กลัวพระบรม                                        มิอาจที่จะรับทานา

จนถึงคำรบเก้าถ้า                 กราบทูลราชา                                       ท้าวตรัสให้ตามจำนง

ครั้นหน่อบรมพุทธพงศ์                     จำเริญวรองค์                                        ได้แปดขวบเข้าชันษา

เนาในศิริไสยา                                     ทรงพระจินตนา                                  ว่ากูให้พาหีระทาน

ฝังไว้ได้เป็นแก่นสาร                          แต่ไม่วิตถาร                                         เท่าอัชติกทานภายใน

ถ้าแม้นผู้ใดจงใจ                                  ขอดวงหทัย                                                เนื้อเลือดแล้กายอาตมา

ไปใช้เป็นทาสทาสา                            จักเพียรพยา                                          ตามกิจมุนนายใช้การ

แม้คิดถึงอัชติกทาน                             อัศจรรย์บันดาล                                    สุธาหนาแน่นไหวหวั่น

สะเทือนถึงเขาสัตตบรรณ                 เทพทุกช่องชั้น                                    ยอกรประนมชมทาน

ท้าวทรงสัทธากล้าหาญ                      อยู่จำเนียรกาล                                      ได้สิบหกชันษา

เล่าเรียนไตรเวทย์วิชา                         ศิลป์ศรศึกษา                                        สิบหกประการสันทัด

ทั่วประเทศกรุงไกรกษัตริย์                กลัวเดชจักรพรรดิ                               น้อมกายถวายเครื่องบรรณา

สุรางคนางค์ ๒๘

เจ้ากรุงสีพี                             วรนาฏผุสดี                           ครั้นได้ทัศนา                       

องค์ไทธิเบศ         เวสสันตรา                            ดังบุตรพันตา                        หยาดฟ้าอ้าองค์

อิทธิฤทธิ์วิชา                        ธนูศรสา-                              มารถยิ่งขัตติวงศ์                 

ควรครองสีพี        แทนหน่อวรองค์                 สืบไว้ได้ปลง                        พระทัยไพบูลย์

จึงให้นำนาฏ                        ธิดามัทราช                           ผู้ปิ่นไอศูรย์                          

ทรงนามมัทรี        ศรีวงศ์ตระกูล                       กุศลเพิ่มพูน                          คู่สร้างปางก่อน

เศกครองเศวตฉัตร              ไอศูรย์สมบัติ                        เพื่อให้สั่งสอน

ราชประชา            กรุงเชตอุดร                          เป็นสถาพร                           ทั่วทุกพารา

วรนาฏมัทรี                           ผู้เป็นมเหสี                           ทรงครรภ์บุตรา                   

วันเมื่อประสูติ      นางนมซ้ายขวา                    เอาข่ายสุวรรณา                   รับรองวรองค์

บิตุเรศมารดร                        จึงถวายนามกร                     ชาลีสุริยวงศ์                        

พอรู้ทอดย่าง         สำอางอ่าองค์                        ส่วนนาฏโฉมยง                  ทรงครรภ์บุตรี

ครั้นถ้วนทศมาส                  ประสูติสุดสวาท                  ผ่องแผ้วราคี                         

นางนมเขารอง     รับด้วยหนังหมี                    ให้นามกุมารี                        ชื่อเจ้ากัณหา

พระเวสสันดร                      ครั้นเข้าเสด็จจร                    ไปสู่ศาลา                             

ฉทานทั้งหก         ตกแต่งทานา                         ทรัพย์สินโภคา                     ยกให้เป็นทาน

ขณะนั้นยังมี                         กลึงคราชบุรี                         ชาติพราหมณาจารย์           

บันดาลข้าวแพง   อุบัติเกิดกาล                          สิบปีมานาน                         ฝนบ่โปรยปราย

ข้าวยากหมากแพง               ในกรุงนอกแขวงโซเซวอดวาย                       

บังเกิดโจรกรรม   เที่ยวทำอันตราย                   เก็บริบฉิบหาย                      ทั่วทั้งพารา

เจ้ากรุงกาลึง-                        คราชรำพึง                            เสด็จยังชาลา                       

ให้ชุมสังฆราช     มุขมาตย์เสนา                       พร้อมกันปรึกษา                  จะทำพิธี

จึงพวกพราหมณา               ตบแต่งบูชา-                         ยันตเวทถ้วนถี่                     

เพื่อจักให้ฝน        ตกในธรณี                             สิ้นเวทวิธี                              มิได้ตกลง

เสนาหนึ่งทูล                        แด่องค์ไอศูรย์                       ขอแจ้งบาทบงสุ์                  

ว่าในนคร              เชตุอุดรสุริย์วงศ์                  มีคชาทรง                              เผือกผู้สมบูรณ์

เป็นมงคลสวัสดิ์                   แห่งกรุงกษัตริย์                   ไพร่ฟ้านานูน                      

กั้นโทษโพยภัย    จัญไรสิ้นสูญ                        เป็นที่เพิ่มพูน                       โภไคยไอศวรรย์

เวสสันตะรา                         ทรงธรรม์ศรัทธา                 คุณามหันต์                          

แม้นจักปรารถนา โภคาสิ่งอัน                        มิได้เกียจกัน                         ตระหนี่ในทาน

เจ้าเมืองกาลึงค์                     ฟังคำรำพึง                            เอ่ยเอื้อนโองการ                

ให้จัดพราหมณ์พฤฒิ ตระกูลขอทาน             ซึ่งมีโวหาร                           แปดคนเข้ามา

จึงสั่งให้ไป                           สู่สำนักใน                             อุดรมาหา                             

ขอปัจจัยนาถ         นาเคนทร์คชา                      ได้แล้วเร่งพา                        มาสู่เมืองเรา        

แปดพราหมณ์รับสั่ง           มาแต่งกายัง                          เพศพราหมณ์เพริศเพรา

จรถึงกรุงสี-          พีราชโดยเต้า                        คอยท่าปิ่นเกล้า                    เสด็จมาโรงทาน

อรุณเรืองศรี                          ส่องแสงรัศมี                        จึงหนอวรจารย์                   

ทรงพระรำพึง      คำนึงถึงทาน                        ชำระสระสนาน                  สำอางอ่าองค์

ขัดขัคาวุธ                              ศรภักศรยุทธ                        เพริศพริ้งยิ่งยง                    

เสด็จมาขึ้นช้าง    ปัจจัยนาถทรง                      พร้อมพวกจัตุรงค์                รับเสด็จจักรี

พราหมณ์จึงเป่าสังข์           นำเสด็จสะพรั่ง                    หน้าหลังมากมี                   

เกณฑ์แห่เป็นขนัด เยียดยัดวิถี                         บ่ายพระพักตร์ลี-                 ลาศตามรัถยา

ตามพระทวารัง                    ทักขิณทิศดัง                         เสด็จยังศาลา                        

จำแนกแจกจ่าย     แก่หมู่ทลิกา                          ต่างกรูกันมา         รับทานเย็นใจ

ฉันท์ ๑๑

                พราหมณ์ทั้งแปดคนคิด                     ว่าทรงฤทธิ์เสด็จไป

ศาลาฉทานใน                                                      ฝ่ายประตูทิศอุดร

คอยท่าเห็นพระบาท                                           เสด็จคลาดครรไลจร

สู่ประตูทักษิณก่อน                                             ชวนกันจรติดตามมา

ทันท้าวเมื่อเสด็จกลับ                                          พราหมณ์คำนับยืนเรียงหน้า

เหนือพื้นแผ่นสุธา                                              เหยียดมือขวาร้องถวายพระพร

ไชโยจงประสิทธิ์                                 แก่บพิตรนรินทร

ทำทานไม่ย่อหย่อน                                             ลือขจรทั่วธาตรี

ขอให้จำเริญสวัสดิ์                                               พูนพิพัฒน์เพิ่มสีพี

สามโลกไหนจักมี                                               เทียบเทียมเท่าเจ้าธรณินทร์

พระเวสสันดรสดับ                                             อัตถะพราหมณ์กล่าววาทิน

จึงขับกุญชรินทร์                                                 อันประเสริฐเข้าใกล้พราหมณ์

เฉพาะตรงพักตรา                                               แล้วพัชนาโองการถาม

ว่าฮาดูราพราหมณ์                                              สถิตด้าวเดิมใดมา

มีกายเปื้อนธุลี                                                      หนวดเครารีรกหนักหนา

ฟันขาวดังโขมรา                                                 ประชุมหน้าขอสิ่งใด

พราหมณ์ทั้งแปดกราบทูล                นเรนทร์ศูรย์ปิ่นภพไตร

เกล้ากระหม่อมมาแต่ใน                                    กรุงกาลึงค์พึ่งสมภาร

ด้วยเมืองข้าพุทธิเจ้า                                            ประชาชาวร้อนรำคาญ

บังเกิดอุบัติการณ์                                 ฟ้าฝนแล้งทุกแห่งหน

ข้าพระเจ้าซอกซอนมา                                       ปรารถนาขอช้างมงคล

เผือกผู้ผ่องผิวขน                                                 ไว้กันภัยในธานี

โพธิสัตว์ครั้นได้สดับ                                          วัจนศัพท์เธอยินดี

ว่าดูราธชี                                                               ท่านมาขอเศวตงาม

เราฤาจักย่อท้อ                                                      ที่ท่านขอไม่เข็ดขาม

เป็นทานนอกกายตาม                                         แต่ปรารถนาประชาชน

แม้นมาตรขอทัศไท                                             ทั้งเลือดเนื้อในสกล

ยกให้ไม่ขัดสน                                                     เพื่อแสวงผลเพิ่มโพธิญาณ

ว่าแล้วเสด็จลง                                                      จากเศวตพญาสาร

ยังพื้นสุธาธาร                                                      เพื่อประสาทกุญชรทรง

อีกทั้งเครื่องประดับ                                            สีเท่าสรรพงามยรรยง

กุดั่นเพชรพลอยผจง                                           สงราชาวดีแกม

สองข้างซ้ายขวารัด                                              สายสุคนธแนบแนม

นพรัตน์สุวรรณแกม                                           ลายเลิศล้วนกระบวนกรอง

ข่ายแก้วก้านกระหนก                                        ปกหลังสารภูษาทอง

เบาะตั้งที่นั่งรอง                                                  คอตระไลละมัยตา

เครื่องประดับสำหรับคช                                    งามปรากฏช่างรจนา

แม้นว่าจะตีค่า                                                      สองล้านแสนตำลึงทอง

เว้นไว้แต่ทุนทรัพย์                                              เจ็ดสิบสรรพสมพอง

คือแก้วมณีกรอง                                                  กำภูฉัตรเรืองชัชวาล

แก้วจุฬามณีหนึ่ง                                                 อีกทั้งแก้วมุกตาหาร

ขอแก้ววิเชียรสาร                                                แก้วประดับหน้ารำญวน

หนึ่งแก้วประดับเศียร                                         สารเศวตสัปสมควร

เจ็ดสิ่งนี้คือประมวล                                            ค่ามิได้องค์ไอยรา

ให้ทั้งหมอแลควาญ                                            ตะพุ่นนำส่งส่วยหญ้า

สำหรับจักรักษา                                                   ทุกสิ่งสรรพ์บรรจงแต่ง

มิให้อนาทร                                                          แก่วณิพกอันเสาะแสวง

จำนงประจงแกล้ง                                               มิให้ขาดตามเจตนา

๑๙

               ปางพระเวสสันตรา                        ทรงจินตนา               ตรัสเรียกพราหมณ์

ทั้งแปดคนมาโดยงาม                                         ยกหัตถาพราหมณ์               มาชูงวง

ปัจจัยนาเคนทร์ใหญ่หลวง                พระหัตถ์ ธ ก็หน่วง            คนทีทอง

หลั่งหล่อในมือพราหมณ์อุทิศปอง                  ประสิทธิสมพอง                 ธ ประสาท

คชไกรให้ทานเป็นคำขาด                  แล้วตรัสประภาษ                พฤฒาจารย์

จงท่านรับเอาพญาคชสาร                                  พาไปสู่สถาน                       แห่งสำนัก

แล้วกล่าวสุนทรให้ประจักษ์              ด้วยเรานี้รัก                           โพธิญาณ

ร้อยเท่าพันทวีกว่าสาร                                        ในอนาคตกาล                      ให้สำเร็จ

ขอได้ตรัสเป็นสร้อยสรรเพชญ์         ตัดราคะเด็ด                          จากข้วงมาร

วันให้ปัจจัยนาถเป็นทาน                                   อัศจรรย์บันดาล                    พื้นปัถพี

เลื่อนลั่นหวั่นหวาดทั่วธาตรี              สมุทรวารี                              นองละลอก

สิเนรุราชก็กลับกลอก                                         เอนอ่อนขย้อนยอก             อยู่ไปมา

เทวครุฑนาคราชผีป่า                          ต่างก็ร้องซ้องสา-                ธุการทาน

สรรพสัตว์จตุบาทในไพรสาณฑ์                      พอืนบันดาล                         ตื่นตระหนก

ฟ้าแลบลมลั่นให้ฝนตก                      เมฆหมอกงอกปก               ปิดสุริยน

แปดพราหมณ์รับช้างมงคล                               กราบลาจุมพล                      กับขึ้นขับช้างไคลคลา

รีบออกนอกกรุงนัครา                        พบพวกชนา                         ชาวกรุงราชสีพี

โกรธาว่าดูราชี                                                      ลักช้างพาหนี                       เองนี่จะเอาช้างไปไหน

ตัดหัวจุกห้อยไว้ใน                              ทีนี้หนำใจ                             เว้นพาช่องพราหมณ์ร้ายผล

ได้ฟังพราหมณ์ทั้งแปดคน                                ตอบว่าเว้ยชน                       บ้านนอกสูอย่าเจรจา

สมเด็จพระปิ่นจักรา                            ประทานคชา                        เผือกผู้นี้ให้แก่เรา

พวกสูไม่รู้อย่าเดา                                                ติเตียนตูเปล่า                        ว่าเราลักช้างเหตุไร

ชูพลางขับช้างวางไป                          ถับถึงกรุงไกร                       กาลึงคราษฏ์เมืองพราหมณ์

เดชะเดชคชสารงาม                                           ฝนฟ้าตกตาม                        ระดูกาลก็เกิดสมบูรณ์

พุทโธมีพระบัณฑูร                             แก่สงฆ์ทั้งมูล                       ประโยชน์ตามอรรถคาถา

เมื่อพระเวสสันตรา                                             ปราศจากคชา                       เสวกมงคลเป็นทาน

สุรารักษ์หลักเมืองแดนดาน              จิตกลับเป็นพาล                   สิ้นทั้งเชตุอุดรธานี

โกรธแก่นราธิบดี                                 ว่าให้หัตถี                              แก่ชีมาแกล้งเบียนผลาญ

อำมาตยาทวยหาญ                               โกรธคือไฟกาล                    ก็มีมโนปองปุญ

จองโทษโทษาทารุณ                                           พวกราชนีกุล                        ขุนหมื่นพร้อมพรูกรูมา

ร้องก้องประกาศโกญจนา                 ทุกข์ราชบิดา                         แก่นรินทร์ปิ่นเกล้าจอมเมือง

ข้าพระเจ้าทั้งนี้แค้นเคือง                                   จงแจ้งแห่งเรื่อง                   ซึ่งโทษพระเวสสันดร

ให้สารเสวกกุญชร                              แก่พราหมณ์สัญจร              พาไปกาลึงค์นัครา

ให้ผิดทำนองขัตติยา                                            จะอวยทานา                         แต่พัสดุเงินทอง

วัตถาลังกาข้าวของ                              ให้สิ้นสิบสอง                      พระคลังก็ตามปรารถนา

ควรฤๅให้ปัจจัยนา-                                              คเชนทรอา-                          นุภาพล้ำแดนไตร

ห้าวหาญการยุทธซึ่งชัย                      กันโทษโพยภัย                    อุปัทวะร้ายพาธา

ทั่วข้าขอบขัณฑเสมา                                          แผ่ผลฝนฟ้า                          ประกอบชอบตามระดูกาล

แสนสนุกล้ำโลกลือลาน                    ควรหรือมาผลาญ                พลไพร่ได้ความลำเค็ญ

ก่อกรรมทำลามกเป็น                                         โทษแท้ให้เห็น                     เหตุนี้ควรคิดแทนสนอง

ขัตติวงศ์องค์ใดไม่ครอง                     ทศพิธตรึกตรอง                   รักษาเขตทัณฑเสมา

ถ้าว่าไม่ทรงกรุณา                                               ทำทัณฑ์โทษา                      ตามข้าราษฎรร้องทุกข์

เมืองนี้จักปราศจากสุข                        จะเกิดกลียุค                          แค้นเคืองพระทัยไขว่ขวิน

ปางกรุงสญชัยครั้นยิน                                       เสนากล่าวฉิน                      โอรสเจ้าจอมจักรา

จึงมีพระราชโองการ์                          ว่าเว้นเสนา                           มุขมาตยแล้ราชนิกร

อันองค์พระเวสสันดร                                        ไม่มีโทษกรณ์                       สิ่งผิดจะติดกายา

จักแค้นแข้นให้เข่นฆ่า                        สิ้นชีพอาตมา                       แล้วกูมิอาจจะเอ่อตาม

ไม่ฟังวัจนังคุกคาม                                              ไม่เข็ดไม่ขาม                       ไม่คร้ามไม่พรั่นกลัวตาย

เสนากราบทูลเบี่ยงบ่าย                      ไม่จองปองร้าย                     พิฆาตให้ดับสังขาร์

ให้ทำแต่ตามโบราณ์                                           อาจารย์กล่าวมา                    ว่าขัตติราชราชี

ทำผิดกิจประเพณี                                จงให้ขับหนี                          ไปยังอรัญเวศสิงขร

วงกตสร้างพรตเร่จร                                            หาบหาผลผ่อน                    มาภุญชาภักษ์รักษา

เลี้ยงกายอยู่ในราวป่า                          ประพฤติตามจา-                  เรตขัตติราชราโช

พระเจ้ากรุงสญชัยโย                                          สดับวัจโน                             อำมาตย์ราชชาวสีพี

จักขืนแขงถ้อยผิดที                             จักเกิดกุลี                               ยุคยุ่งทั้งกรุงนัครา

จึงตรัสว่าตามปรารถนา                                      สูจักบัพพา                            เราของดไว้สักวาร

จึงตรัสแก่นายนักการ                         ให้นำข่าวสาร                       ไปแจ้งแก่โอรสา

นักการสดับสารกราบลา                                    ไปสู่นรา-                              ธิเบศพระเวสสันดร

กราบทูลตามมูลแต่ก่อน                     ว่าชาวนคร                            สีพีนัคราคาเคือง

ว่าให้ไอยราค่าเมือง                                             แก้วกาญจโนเครื่อง             ประดับสรรพสิ่งเป็นทาน

จักนีรเทศท้าวจากสถาน                     สู่ห้องหิมพานต์                   เป็นปัพชิตอาดูร

สุรางคนางค์ ๒๘

เวสสันตะโร                         สดับวัจโน             นายนักการทูล                     

จึงตรัสว่าเรา                         เนาในไอศูรย์                        สมบัติเพิ่มพูน                      พิพัฒน์โภคา

เราตรึกตรองการ                  คิดใคร่ให้ทาน                      เป็นของภายใน                   

คือโลหิตา                              มังสาหัวใจ                            แม้นว่ามีใคร                         ขอให้ง่ายดาย

จงไปทรงพรต                      อยู่ยังวงกต                            ดังใจเราหมาย                     

สร้างสมณธรรม                 สำรวมวรกาย                        เห็นจักสบาย                         กว่านี้พันทวี

ตรัสนักการเสด็จ                  หน่อหน้าสรรเพชญ์           เสด็จจรลี              

สู่สีรีไสยาสน์                        วรนาฏมัทรี                           นั่งเหนือแท่นที่                    ประทมรมยา

มีพระโองการ                      แก่ยอดเยาวมาลย์ว่าทรัพย์โภคา                      

อันบิตุราช                             มาตุโรให้มา                         ทรัพย์อันพี่ยา                       ให้เจ้าโดยถวิล

นุชจงเก็บฝัง                         ซ่อนไว้ที่บัง                          ได้เป็นเสบียงกิน                

ไฟน้ำลมกาล                        ประหารแผ่นดิน                  ทรัพย์นั้นห่อนสิ้น               สูญสาบเสียดาย

นางจึงกราบทูล                    ว่าทรัพย์นั้นมูล                    จะให้ฝังไว้                           

แต่อยู่เป็นคน                        ยังย่อมกลับกลาย                 ยังตนจะตาย                         ฝังไว้เสียสูญ

ท้าวตรัสว่าเล่า                      ใช่กระนั้นดอกเจ้า               ขวนขวายอนุกูล                  

ทำบุญให้ทาน                       ผู้ยากทั้งมูล                           พราหมณ์พฤฒากูร              ผู้เป็นสัมมา

ทรงศีลสังวร                         รู้ธรรมคำสอน                      ชินเทสิตา                             

มั่นแม่นแก่นสาร              เป็นเสบียงอาตมา                จะข้ามมหา                           พระสมุทรกันดาร

จึงตรัสประภาษ                   ดูกรวรนาฏ                           มัทรีเยาวมาลย์                     

เจ้าอยู่รัชชัง                           เวียงวังสำราญ                      รักษากุมาร                            กัณหาชาลี

บิดุราชมาตุรง                       ตั้งจิตจงตรง                          ตามประเพณี                       

เฝ้าแหนอย่าคลาด              จากบาทธุลี                            โดยทำทุกศรี                         สะใภ้ให้ควร

ในวัตรปฏิบัติ                        ตามอย่างกษัตริย์                  อย่าได้ลามลวน                   

จงดำรงจิต                             อย่าคิดแปรปรวนเขาจักเสรสรวล                    บ่ควรแก่องค์

แม้นว่าราชา                         องค์ใดปรารถนา                  เสน่หานุชนง                      

เจ้าจงภักดี                             มีมโนปลง                            เหมือนหนึ่งอนงค์              ปรนนีบัติพี่ชาย

นางกษัตริย์มัทรี                   ผิดหมองใดมี                        แก่เกล้ากระหม่อมฉาน                     

ยังไม่คลายรัก                       ไยตรัสหักราน                      ให้เคืองรำคาญ                     เพื่อเหตุสิ่งใด

พระเวสสันดร                      ตอบนาฏดวงสมร                องค์อัครวิไล        

เจ้าฤๅจักให้                           พี่ชายเคืองใจ                        ด้วยพี่จะไป                           หิมวันต์ภูผา

ตั้งกรรมทำพรต                   อยู่ในวงกต                            คีรีราวป่า                              

เพราะด้วยชาวเมือง           ชวนกันบัพพา                      ว่าให้พญา                             คเชนทร์เป็นทาน

โฉมนาฏมัทรี                       แจ้งเหตุแล้วมี                       สุนทรอ่อนหวาน

ว่าเกล้ากระหม่อมนี้          กับองค์นีฤาบาล                   คือดังอาจารย์                        กับศิษย์ติดองค์

ขอโดยเสด็จด้วย                   แม้นชีพมอดม้วย                 ที่ในไพรพง                         

เป็นเพื่อนบาทา                    ดังข้าจำนง                            ขอพระได้ทรง                      เมตตาอย่าสูญ

เจ้าจึงพรรณนา                     เรื่องราวหิมวา                      นำมากราบทูล                     

แด่พระสวามี                        คดีทั้งมูล                                อเนกนานูน                          ดังเคยได้ชม

อันป่าหิมพานต์                   พนาเวสดงดาน                    แสนสุขภิรมย์                      

ข้าขอนำเสด็จ                       พระองค์ไปชม                     พนาลัยไพรพนม                 สระสรงธารา

เมื่อจักลินลาศ                       กรซ้ายฃ้าบาท                      อุ้มแก้วกัณหา                      

กรขวาจับจูง                          ชาลีพี่ยา                                 เข้าสู่หิมวา                            วงกตคีรี

จะสร้างอาศรม                     ศาลาจงกรม                          พระคันธกุฏี                        

บวชตามนักสิทธิ์              ถือตามกิจชี                           เพลาราตรี                             ตามเสียงสกุณา

เค้าคูดแสกร้อง                     นกกุกกู่ก้อง                          พีลึกราวป่า                           

จะได้เป็นเพื่อน                    งุมงำภาวนา                          ยามสมัยไก่ป่า                      พญาลอถ้อขัน

ผึ้งแมลงแบ่งทับ                  ร่ำร้องก้องกับ                       เรไรจักจั่น            

ดังเสียงดนตรี                       ปี่พาทย์เพลงสวรรค์            ครานั้นเจ้ากัณ-                     หาพ่อชาลี

จะจับระบำ                            กรายกรฟ้อนรำ                    คือนางกินรี                          

แรรอยสวยสอด                 ทานทอนฤๅดี                  จักลืมดนตรี                          นางรำกำนัล                        

เห็นสารเสวก                       สีหมอกสีเมฆ                       ประทุมทัน                           

โกมุทโกเมศ                         ก้านบุษบัน            เอกทั้งฉัททันต์                     คลอดคลำนำโขลง

ท้าวจักลืมช้าง                       พังพลายสำอาง                    จะลืมม้าโรง                        

จะเห็นอัศดร            จรในป่าโขลง            จะลืมม้าโรง                     เรียงรายซ้ายขวา

แลเห็นมฤคมาศ                   กวางทรายควายผาด            นำฝูงโคคลา                        

พระองค์จักลืม                     นางสนมซ้ายขวา                 นางนายนางจา                     กำนัลบรรจง

แลเห็นพยัคฆา                     พยัคฆีเสือปลา                      เสือโคร่งตัวยง                     

ผาดโผนโจนจับ                มฤคาป่าดง                            จะลืมจัตุรงค์                         ทหารชาญชัย

เห็นมยุราร่อน                      ยกปีกหางฟอน                    รำแพนแกว่งไกว                

นางมยุระห้อมล้อม             ละม่อมละไม                       จะลืมนางใน                        ขับรำบำเรอ

ฟังเสียงสาลิกา                     พลอดคลอจ้อจ้า                   สว่างอารมณ์เยอ                 

กระเหว่าเจ้าร้อง                  กู่ก้องเกลอเหอ                     ปักษินบินเร่อ                       รีบไปไพรพง

ปิยาบุตรา                               ปิยานันทา                             นกนามหารหงส์                

ลงล่องวาริน                         มุจลินทร์สระสรง                คาบบุษบัวบง-                      กชแกมกรณี

ยินเสียงปักษา                       จะลืมเสภา                            ดุษรีย์ดนตรี                          

ลืมราชสมบัติ                    สารพัดโภคี                         ด้วยเจ้าชาลี                         กัณหามาจน                        

                      หนึ่งเขาคันธมาทน์                พรรณพฤกษาชาติ               หอมเร้ารสคนธ์

ยิ่งกลิ่นเจืออบ                       จบทั้งไพรสณฑ์                   ร้อนเร้ากระมล                     ค่อยคลายสบายใจ

ครั้นสุริโยตรัษ                      นกเนื้อเสือสัตว์                    สักุณาป่าใน         

บินจากรังนอน                     ข้าจักจรไป                            หาผลไม้ได้                           หาบหิ้วมาสถาน

ทูลพร่ำพรรณนา                  หิมเวศราวป่า                        สิงขรชลธาร                        

ประหนึ่งนางได้              เคยทัศนาการ                        เพราะเพื่อโพธิญาณ           ชักนำจำใจ

เวสสันตะรัง                         ครั้นสดับวัจนัง                     องค์อัครวิไล                        

ทูลเล่ารำพัน                     หิมวันต์สถานไพร              เพื่อความพิสมัย                   ขอไปด้วยกัน

ทรงพระกรุณา                     แก่นาฏพนิดา                       สุดที่จะรำพัน                      

ว่าตามน้ำใจ                       เจ้าไปไพรสัณฑ์               สร้างสมพรหมจรรย์           รักษาศีลทาน

สมเด็จมัทรี                           ฟังพระสวามี                        มีมโนชื่นบาน                     

ซึ่งนางพรรณนา               ในป่าหิมพานต์                 จบแล้วในกาล                   นีทานกล่าวมา

หิมวันต์กันนี้                        ร้อยสามสิบสี่                        มีในคาถา                             

จบนิถิตัง                                พึงฟังข้างหน้า                     ทานกัณฑ์พรรณนา             ต่อเรื่องเนื่องมีฯ